ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ กศน.ปากแรต

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

ทิศทางพัฒนา กศน.ตำบลปากแรต


ทิศทางการพัฒนา กศน.ตำบลปากแรต

วิสัยทัศน์ (Vision)
 คนไทยได้รับการศึกษาตลอดชีวิตที่มีคุณภาพอย่างถั่วถึงและเท่าเทียมกัน  เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้

พันธกิจ(Mission)
          


        


ประเด็นยุทธศาสตร์ (Stratgic Issues)
กศน.ตำบล ศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนในชุมชน

เป้าประสงค์ (Goals) 
              ภายในปีงบประมาณ  2556  กศน.ตำบล ทุกตำบลต้อง
                 1.   มีการบริหารจัดการ กศน.ตำบล โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย
                 2.   มีการพัฒนาศูนย์การให้บริการทางการศึกษา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนใน 
                         ชุมชน
                 3.  มีการส่งเสริมและพัฒนาระบบเครือข่ายการเรียนรู้ชุมชน

กลยุทธ์ (Stratege)
กลยุทธ์ที่  1 คุณภาพการบริหาร  7  มิติ
              1.   การพัฒนาอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อม กศน.ตำบล
              2.   จัดหา สื่อ วัสดุ ครุภัณฑ์ในการดำเนินงานและการเรียนการสอน
              3.   พัฒนาคุณภาพบุคลากร
             4.    การบริหารงานอย่างมีส่วนร่วม โดยคณะกรรมการ  และภาคีเครือข่าย
             5.    อาสาสมัคร กศน.
             6.   ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
             7.   มีระบบการติดตาม ประเมินผล และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

กลยุทธ์ที่  2  4  ศูนย์บริการการเรียนรู้ตลอดชีวิต
           1.  ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน (Information Center)
           2.   ศูนย์สร้างโอกาสการเรียนรู้ (Opportunity Center)
           3.   ศูนย์การเรียนชุมชน (Learning Center)
          4.    ศูนย์ชุมชน (Community Center)

กลยุทธ์ที่  3  เครือข่ายการเรียนรู้ชุมชน
         1.   เสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ชุมชน
         2.   ศูนย์ ICT ชุมชน

ความสัมพันธ์ครูกับศิษย์

 

 

 
 

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

 ศูนย์การเรียนชุมชน (Learning Center)
      ออกแบบกิจกรรม/โปรแกรมการศึกษา ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายโดย กศน. ตำบล และกศน. อำเภอ ร่วมกับกลุ่มเป้าหมายในการออกแบบกิจกรรม/โปรแกรมหรือโครงการ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ ของกลุ่มเป้าหมายและชุมชน. กิจกรรม/โปรแกรมหรือโครงการควรมีลักษณะ
ที่บูรณาการระหว่างวิถีชีวิต การทำงานและการเรียนรู้
     การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในชุมชน ดังนี้
            1. ส่งเสริมการรู้หนังสือ  โดยจัดทำแผนการแก้ปัญหาผู้ไม่รู้หนังสือสำหรับกลุ่มเป้าหมาย ในตำบลอย่างชัดเจน จัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ ในกลุ่มเป้าหมายอายุ ๑๕ – ๕๙ ปี เป็นลำดับแรก
           2. การศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทำแผนยกระดับการจัดการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจำแนกกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน เช่น ผู้เรียนที่ออกกลางคัน เด็กเร่ร่อน ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ กลุ่มผู้ย้ายถิ่น ผู้นำท้องถิ่น กลุ่มอาชีพประชากรวัยแรงงาน เป็นต้น วางแผนการจัดการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และรายงานผลการดำเนินงาน
           
          3. การศึกษาต่อเนื่องการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ จะต้องให้ความสำคัญและดำเนินการ จัดการศึกษาต่อเนื่องประเภทการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพเป็นลำดับแรกโดย จัดทำแผนจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ/หลักสูตรอาชีพระยะสั้น ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและชุมชนโดยเน้นการเพิ่มทักษะทางด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่และอาชีพใหม่ที่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน

            4.การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต จัดทำแผนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับปัญหา ความต้องการ ความจำเป็นของผู้เรียนและชุมชน เช่น การป้องกันสาธารณภัย สุขภาพอนามัย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน คุณธรรมจริยธรรม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น   
                     
          5.การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน จัดทำแผนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนใช้รูปแบบ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยการฝึกอบรม การประชุมสัมมนา การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรูปแบบอื่นๆที่เหมาะสม เช่น จัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย จัดกระบวนการเรียนรู้ในการเป็นพลเมืองดีของชุมชน สังคม ของประเทศ เพื่อนำไปสู่ความปรองดองสมานฉันท์ เศรษฐกิจชุมชน และการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ จัดการศึกษาต่อเนื่องโดยใช้หลักสูตรบูรณาการ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

            6การศึกษาตามอัธยาศัย  การส่งเสริมการอ่านโดย จัดทำแผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ในรูปแบบต่างๆ เช่น ครอบครัวรักการอ่าน มุมส่งเสริมการอ่านในชุมชน กศน.ตำบลเคลื่อนที่ อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน กระเป๋าความรู้สู่ชุมชน หีบหนังสือสู่หมู่บ้าน จุดบริการการอ่านชุมชน มุมอ่านหนังสือที่ท่ารถ ร้านเสริมสวย ร้านตัดผม สถานีอนามัย เป็นต้น จัดบริการสื่อ โดยจัดบริการสื่อประเภทต่าง ๆ ที่เหมาะสมและหลากหลาย เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ (นสพ.) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อสาธิต สื่อทดลอง วิทยุชุมชน หอกระจายข่าว เป็นต้น บริการ Student Channel เพื่อเสริมศักยภาพให้กับโรงเรียนดีประจำตำบล บริการการศึกษาทางไกล (ETV) ให้กับนักศึกษา กศน. และประชาชนทั่วไป